ติดตั้ง Printer Canon PIXMA iP4500

Canon-PIXMA-iP4500-Photo-Pr

วันนี้ผมกำลังติดตั้ง Printer? Canon Pixma IP4500 นี่คือ Driver? สำหรับ Debian? iP4500_debian.tar ลงมาเก็บไว้ใน Folder Download และเข้า Terminal เพื่อทำการติดตั้งโดยใช้คำสั่งดังนี่

debian@Debian:~$ su root
Password:
root@Debian:/home/debian# apt-get install cups
root@Debian:/home/debian# cd Downloads/
root@Debian:/home/debian/Downloads# tar -xvf iP4500_debian.tar
root@Debian:/home/debian/Downloads# cd iP4500_debian
root@Debian:/home/debian/Downloads/iP4500_debian# dpkg -i cnijfilter-common_2.80-1_i386.deb
root@Debian:/home/debian/Downloads/iP4500_debian# dpkg -i cnijfilter-ip4500series_2.80-1_i386.deb

ขอให้สนุกกับการใช้งาน Debian นะครับ

Posted in การติดตั้ง | Leave a comment

วิธีติดตั้ง NFS (Network File System) บน RHEL/CentOS/Fedora and Debian/Ubuntu

linux-370x264
NFS หรือ Network File System คือ ระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อ Share Files และ Folder ระหว่างระบบ Linux กับ Unix
โดยถูกพัฒนาโดย Sun Microsystems ในปี 1980 ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถเข้าถึงไฟล์ที่แชร์ไว้ในระบบ Network ได้

ประโยชน์ของ NFS
1. NFS อนุญาตให้คุณเข้ามาใช้ไฟล์ที่แชร์ไว้ได้
2. มีความสามารถในการแชร์ไฟล์ระหว่าง Linux กับ Unix โดยใช้ Standard Function
3. ในการใช้ NFS ไม่จำเป็นจะต้องใช้ระบบปฏิบัติการเดียวกัน
4. ช่วยในการจัดการพื้นที่เก็บข้อมุลส่วนกลาง
5. ผู่ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยไม่ต้องสนใจตำแหน่งของข้อมูล
6. ระบบจะทำการ Refresh อัตโนมัติเมื่อมีไฟล์ใหม่เข้ามา
7. version ล่าสุด support acl, pseudo root mounts
8. มี Firewalls และ Kerberos ในการจัดการความปลอดภัย

NFS เป็น Service แบบ System V-launched โดย NFS ต้องการ Package portmap และ nfs-utils

ไฟล์ที่ทำสำคัญในการ Config NFS

– /etc/exports : ตัวหลักในการ config NFS เป็นตัวกำหนด ไฟล์และโฟลเดอร์ ที่ต้องการแชร์
– /etc/fstab : ใช้ mount Directory ที่ NFS แชร์ เมื่อมีการ reboot
– /etc/sysconfig/nfs : ใช้กำหนดการทำงาน NFS

วิธีการติดตั้งและ Config NFS บน Linux Server
เราต้อง Set Computer ไว้ 2 ตัว คือ
1. NFS Server: nfsserver.example.com ด้วย IP-192.168.0.100
2. NFS Client : nfsclient.example.com ด้วย IP-192.168.0.101

วิธีการติดตั้งทั้ง NFS Server และ NFS Client
สำหรับ RHEL/CentOs/Fedora
[root@nfsserver ~]# yum install nfs-utils nfs-utils-lib
[root@nfsserver ~]# yum install portmap

สำหรับ Debian/Ubuntu
[root@nfsserver ~]# apt-get install nfs-utils nfs-utils-lib

ถัดไปให้ Start Service ทั้ง 2 เครื่อง
[root@nfsserver ~]# /etc/init.d/portmap start
[root@nfsserver ~]# /etc/init.d/nfs start
[root@nfsserver ~]# chkconfig --level 35 portmap on
[root@nfsserver ~]# chkconfig --level 35 nfs on

Config NFS Server
สร้างโฟลเดอร์ที่ต้องการแชร์ไฟล์
[root@nfsserver ~]# mkdir /nfsshare

set ให้ NFS แชร์ โฟลเดอร์ nfsshare บน Network

[root@nfsserver ~]# vi /etc/exports

/nfsshare 192.168.0.101(rw,sync,no_root_squash)

ถ้าไม่ถนัด vi ใช้ pico ก็ได้นะครับ

NFS Option
– ro : client สามารถอ่านได้อย่างเดียว
– rw : client สามารถเขียนและอ่านได้
– sync : ยืนยันการขอ Sync ข้อมูลที่แชร์
– no_subtree_check : ปิดการตรวจสอบ subtree
– no_root_squash : อนุญาตให้ root สามารถเชื่อมต่อได้

Config NFS Client
ตรวจสอบการแชร์ของ NFS Server

[root@nfsclient ~]# showmount -e 192.168.0.100

Export list for 192.168.0.100:
/nfsshare 192.168.0.101

Mount เพื่อเชื่อมต่อ Directory ที่ Server แชร์

[root@nfsclient ~]# mount -t nfs 192.168.0.100:/nfsshare /mnt/nfsshare

ตรวจสอบการ Mount

[root@nfsclient ~]# mount | grep nfs

sunrpc on /var/lib/nfs/rpc_pipefs type rpc_pipefs (rw)
nfsd on /proc/fs/nfsd type nfsd (rw)
192.168.0.100:/nfsshare on /mnt type nfs (rw,addr=192.168.0.100)

ทีนี้เรามา Config Client ให้ Mount อัตโนมัติตอน Reboot โดยเข้าไปแก้ไขไฟล์ /etc/fstab

[root@nfsclient ~]# vi /etc/fstab

เพิ่มข้อความนี้เข้าไป
192.168.0.100:/nfsshare /mnt nfs defauls 0 0

ทดสอบการทำงาน
ฝั่ง Server
[root@nfsserver ~]# cat > /nfsshare/nfstest.txt

ฝั่ง Client
[root@nfsclient]# ls /mnt/nfsshare
total 4
-rw-r--r-- 1 root root 61 Sep 21 21:44 nfstest.txt

root@nfsclient ~]# cat /mnt/nfsshare/nfstest.txt
This is a test file to test the working of NFS server setup.

ออกจาก NFS Mount

root@nfsclient ~]# umount /mnt/nfsshare

ขอให้สนุกกับการใช้ Linux ครับ
ที่มา : http://www.tecmint.com/how-to-setup-nfs-server-in-linux/

Posted in การติดตั้ง | Leave a comment

มาติดตั้ง Skype บน Debian กันครับ

skype-logo
Skype คือโปรแกรม Chat และใช้โทรศัพท์ผ่าน PC หรือ Smart Phone ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย
และหลายๆคนคงอย่าใช้งานโปรแกรมตัวนี้บน Debian เหมือนกัน ดังนั้นผมจึงขอนำเสนอวิธีการติดตั้ง Skype ให้ทุกคนเอาไปใช้งานกัน

เริ่มติดตั้งเลยครับ
# pico /etc/apt/sources.list

ใส่ข้อความต่อไปนี้เข้าไป

deb http://download.skype.com/linux/repos/debian/ stable non-free

กด Ctrl+x

แล้วก็ update source list ดังนี้
# apt-get update

รอซักครู่จน update เสร็จ
# apt-get install skype

แล้วคุณจะพบ Skype บน Applications?>Internet?>Skype

ขอให้สนุกกับการใช้งาน Debian นะครับ

Posted in การติดตั้ง | Leave a comment

Valve แจ้ง Spect ของเครื่องต้นแบบ

valve-steam-machine-controller-gaming-pc-620x448
สัปดาห์ที่ผ่านมา Valve ได้ออกมาแจ้งถึงสเปกเครื่องต้นแบบ แบบที่ 300 โดยคาดว่าจะออกมาในปลายปีนี้
ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถบอกรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องต้นแบบนี้ได้ทั้งหมด แต่ที่แน่ๆระบบประมวลผลด้าน Graphic ใช้ Nvidia
ในสัปดาห์ก่อนๆ Valve ได้ให้ข้อมูลเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับเคื่องต้นแบบว่าหน้าตาคล้ายกับเกมส์บน PC ที่ใช้ Windows โดยพวกเขาใช้หน่วยประมวลผลของ Intel Core processors คือ Quad-core Core i7-4770 ไม่ใช่ AMD นะ, RAM DDR3-1600 16GB ,Hybrid Disk Drives ขนาดระหว่าง 1TB – 8TB
ในส่วนการประมวลผลทางด้าน Graphic นั้นเครื่อง Steam ในสเป๊ก ต่ำสุดใช้ Nvidia GeForce GTX 660 สเป๊กอื่นอาจจะเป็น GTX 760 หรือ GTX 780 Card ในสเป๊กสูงสุดใช้ GeForce GTX Titan Monster Card
Valve ได้สร้างจุดขายอย่างนึงขึ้นมาสำหรับเครื่อง Steam โดยให้เราสามารถปรับเปลี่ยนหรือ Upgrade อุปกรณ์ได้ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ซึ่งแตกต่างจาก XBox หรือ Play Station
เครื่อง Steam เนี่ยมันเหมือนเครื่อง PC เลย ซึ่งคุณสามารถต่อ Mouse ต่อ Keyboard ใช้งานได้เลย แต่คุณจะชอบตัว Controller ของ Steam สำหรับการเล่นเกมส์มากกว่า

ที่มา : http://www.zdnet.com/valve-details-specs-for-linux-based-steam-machine-prototype-gaming-pcs-7000021607/

Posted in ข่าวสาร | Leave a comment

7 เส้นทางในการสนับสนุนธุรกิจ Open Source

linux-370x264
บริษัทของคุณจะสามารถสร้างรายได้จาก Open Source ได้จริงหรือ?
ได้ ถ้า คุณมุ่งเน้นไปในทาง Support ลูกค้า ไม่ใช่จากเงินบริจาค

USA: ธุรกิจโดยส่วนใหญ่มีแนวโน้มใช้ Software แบบ Open Source แต่คุณจะมันใจว่าสิ่งที่คุณจะทำมีอนาคตหรือไม่ นั่นขึ้นอยู่กับ Project นั้นๆมีการปรับปรุงและบำรุงรักษา สม่ำเสมอหรือไม่

วิธีที่นำคุณไปสู่??เป้าหมาย? ขั้นแรก ส่วนใหญ่เรามักคิดว่า – เงินบริจาค – ซึ่งไม่น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด
สำหรับการพัฒนา Project Open Source ของคุณนั้น เงินบริจาค คือ สิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งจะมาจากการ support ของคุณ

ในขณะที่บริษัท Software ลิขสิทธิ์ กำลังหาเงินเป็นจำนวนมากจากลิขสิทธิ์ Software เพื่อหาเงินมาจ่ายให้ผู้ถือหุ้น ผู้บริหารระดับสูง และ พนักงานของเขา สำหรับนักพัฒนาโปรแกรม Open Source แล้วมักมีรายได้จากแหล่งอื่น ดังนั้นพวกเขาจึงต้องการเงินพอประมาณและไม่มากนัก

แล้วจะมีวิธีอย่างไรบ้างในการ support Software Open Source ให้ประสบความสำเร็จ? นี่คือ 7 เส้นทางในการสนับสนุน Software Open Source ของคุณ

1.ซื้อจากสมาชิกของ Community
ใน Open Source Community มีกลุ่มคนที่หลากหลาย ซึ่งแต่ละกลุ่มมี บริการ และ ส่วนเพิ่มเติม สำหรับ Project เป็นจำนวนมากที่น่าสนใจ
พวกเขาเป็น ผู้ฝึกสอน, นักพัฒนา, บริษัทที่ support, ผู้ติดตั้ง และ อื่นๆ
ช่องทางที่ดีที่สุดที่จะ support Open Source คือการซื้อขายกับบุคคลและธุรกิจเหล่านั้นโดยตรง

เมื่อคุณซื้อ บริการ จากพวกเขาแล้ว ให้ตรวจดูว่าเขายัง Active ใน Community อยู่หรือไม่ ดูว่าว่าพวกเขายังมุ่งมั่นกับ Project หรือมีส่วนร่วมใน Project ที่เขามีหน้ากำกับดูแลหรือไม่

บาง Community จะมีการรับรองการเป็นสมาชิกของ Community โดยมีตัวเลขที่น่าตกใจ ว่า บางบริษัท ที่มีบริการ 1 หรือ 2 บริการไม่ได้มีส่วนร่วมใน Community ซึ่งหลายๆบริษัท เป็นพวก Freeloader (อาจหมายถึงชาวเกาะ แบบเห็บ) และวิธีที่ดีที่สุดคืออย่าไปสนับสนุนพวกนี้ เพื่อไม่ให้พวกเขาอยู่ต่อไป

2.ประชาสัมพันธ์
Open Source Project ไม่เหมือน Commercial Product พวกเขาไม่มีงบประมาณ หรือ สามารหาช่องทางทางการตลาด มันจิึงง่ายที่จะสังเกตุเห็นความเชื่อมั่นของพวกเขา แต่ความจริงแล้วบริษัทคุณอาจชอบ Open Source Software ตัวนี้เอามากๆ
อย่าเก็บมันเป็นความลับ! แชร์สิ่งนี้ออกสู่สายตาสาธารณชน เพิ่มข้อมูลไปยังเว็บไซต์ของคุณเกี่ยวกับ Open Source ตัวนั้น และการบริการของพวกเขา
ส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในบทความและกรณีศึกษาเพื่อการเผยแพร่ ถ้าคุณเผยแพร่ Open Source สู่สาธารณะคุณจะค้นพบคนอื่น ๆ ที่ใช้ซอฟต์แวร์เดียวกันกับคุณ คนที่สามารถแชร์ประสบการณ์การใช้งานของเขา

3.มีส่วนร่วมใน Community
ในฐานะผู้ใช้ Open Source คุณมีบทบาทใน Community ในทางตรงและมีคุณค่าที่จะสนับสนุน Open Source ตัวอย่างเช่น การที่คุณให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการประชุมทั้งเล็กและใหญ่เพื่อช่วยให้เกิด Community นั้นๆขึ้นมา โดยอาจมีค่าใช้จ่ายเล็กๆน้อยในพนักงานของคุณ ในการเข้าร่วมนั้นอาจไม่จำเป็นจะต้องเกี่ยวข้องกับการเขียน Code หรือ เอกสารคู่มือ เพียงแค่แสดงคุณค่าของ Project นั้นๆ แน่นอนคุณสามารถทำให้มีผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น

4.มีส่วนร่วมในโครงการ
ในฐานะ User คุณเองก็สามารถส่วนร่วมในการรายงานเรื่อง Bug ของโปรแกรม หรือ ถ้าจะให้ดีมากๆ คุณอาจทำ คู่มือการใช้งาน หรือ กรณีศึกษาด้วยตัวคุณเอง หรือ คุณอาจจะเขียน Code เพิ่มฟังก์ชั่นการทำงานใหม่ๆใหักับโปรแกรมนั้นๆก็ได้

5.จ่ายเงินเพื่อปรับปรุง
อาจมีคุณลักษณะบางอย่างที่คุณต้องการใช้ในซอฟต์แวร์ของคุณ มันก็ไม่มีในซอฟต์แวร์นั้นและใน Community ก็ไม่ตอบสนองต่อความต้องการของคุณ ส่วนใหญ่ก็ตอบสนองต่อความต้องการของเจ้าของ คุณอาจจะบ่นเกี่ยวกับมันหรือคุณอาจยอมจ่ายเงินเพื่อแก้ไขมัน คุณอาจไม่ใช่บริษัทเดียวที่ต้องการความสามารถนั้น
คุณอาจจะสามารถที่จะใช้วิธีการเดียวกันเป็นกลุ่มชาวเยอรมันและชาวสวิตส์ ที่มีความต้องการใช้ LibreOffice และ OpenOffice ที่สามารถใช้งานร่วมกับ Microsoft Office ได้ จึงได้รวมทีมกันเป็น Open Source Business Alliance โดยได้พัฒนาโปรแกรมตามที่พวกเขาต้องการ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือ LibreOffice สามารถทำงานร่วมกับ Microsoft Office ได้

6.มีส่วนร่วมโดยตรง
เมื่อคุณต้องพึ่ง Project นั้น ทำไมคุณไม่จ้างนักพัฒนาหลัก Project นั้นๆล่ะ? คุณสามารถมีส่วมร่วมโดยตรงใน Community นั้นโดยการจ้างนักพัฒนาคนนั้นให้ปรับแต่งโปรแกรมให้ตอบสนองความต้องการของคุณ เมื่อคุณจ้างพวกเขา ให้มั่นว่าคุณเมื่อออกจากห้องพวกเขายังคงดำเนินงานตอบสนองความต้องการของคุณอยู่
การจ้างนักพํฒนาหลักของ Community เป็นวิธีที่ดีที่สามารถแน่ใจได้ว่าเขาสามารถปรับปรุงโปรแกรมให้ตรงตามความต้องการของบริษัทคุณได้ นอกจากนี้คุณยังสามารถมีส่วนร่วมในการปกครองของ Community เช่น ให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการบริหาร, สร้าง Staff สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน หรือ ทำการตลาดให้

7.สร้างรายได้จากเงินบริจาค
ในฐานะสมาชิกของ Community คุณจะมีบทบาทในการช่วยจ่ายเงินส่วนแบ่งของค่าใช้จ่าย ซึ่งอาจรวมถึงค่าใช้จ่ายของโครงสร้างพื้นฐานและผู้ดูแลระบบ บางทีอาจจะค่าใช้จ่ายของผู้บริหารและพนักงาน ซึ่งมันไม่น่าจะมากหากเป็น Code ที่คุณเขียนขึ้นด้วยตนเอง นั่นคือความรับผิดชอบต่อ Community
คุณอาจจะกลายเป็น Sponsor หรือ แม้กระทั่งเป็นสมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษา นี่คือช่องทางของรายได้ที่จะใช้ร่วมกันของ Community

มีหลายๆเส้นทางในการสนับสนุน Open Source แต่ 7 เส้นทางนี้เป็นช่องทางที่ทำให้ธุรกิจ Open Source ยังคงทำงาน,แก้ไข และ พัฒนาต่อเนื่อง
มันไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายเงินมาก และ ขั้นตอนส่วนมากมาจากความต้องการและการปฏิบัติงานของธุรกิจของคุณ
อยากให้ลองมัน !

ที่มา : http://www.ciol.com/ciol/features/196436/company-support-source

Posted in บทความพิเศษ | Leave a comment

ติดตั้ง Gimp เพื่อใช้ตกแต่งภาพ (ใช้แทน Photoshop) บน Debian

gimpGimp ย่อมาจาก GNU Image Manipulating Program เป็นโปรแกรมตกแต่งภาพที่มีความสามารถเทียบเท่า Adobe Photoshop เลยทีเดียว
โดย Gimp มีทั้ง Version บน Mac , Windows และ Linux โดย Gimp เป็นโปรแกรม Open source
เกริ่นมาพอสมควร เรามาติดตั้งกันเลยดีกว่า

ขั้นตอนการติดตั้ง
$ su root
Password :

$ apt-get install gimp

นี่คือ คู่มือการใช้ งาน http://www.cc.kmutt.ac.th/download/gimp2.4-completebook.pdf

หรือ http://debianthailand.plapayoon.com/wp-content/uploads/2013/09/gimp-thai-manual.pdf

Posted in การติดตั้ง, การใช้งานโปรแกรม | Tagged , , | Leave a comment

ติดตั้ง Audacity เอาไว้จัดการไฟล์เสียงกันดีกว่า

10656_13012512573457Audacity คือโปรแกรมจัดการไฟล์เสียง วฺิธีการติดตั้งง่ายๆ ดังนี้
$ su root
$ apt-get install audacity

หลังจากนั้นก็รอครับ แล้วคุณจะได้โปรแกรมจัดการไฟล์เสียงเอาไปใช้บน Debian ครับ

Posted in การติดตั้ง | Leave a comment

มาติดตั้ง Flash Player กัน

เริ่มต้นก่อนเลย
$ su root
$ pico?/etc/apt/sources.list

เพิ่มนี้เข้าไปครับ

deb ftp://ftp.debian.org/debian stable main contrib non-free

กด Ctrl+ O -> Ctrl + X ครับ

และก็

$?apt-get update

รอ update จนเสร็จครับ

$ apt-get install flashplugin-nonfree

ที่เหลือก็รอจนเสร็จครับ

 
ยืนยันเจ๋งฟุดๆ

 

Posted in การติดตั้ง | Tagged , | Leave a comment

ทำไม Linux จึงเป็นอนาคตของผู้ชอบเกมส์ โดย CEO ของ Valve

New Orleans: คุณอาจได้ยินมาเป็นล้านๆครั้ง ถึงเหตุผลที่ว่าทำไม Linux จึงไม่มีเกมส์ ขอขอบคุณ Gabe Newell CEO ของ Valve เจ้าของ SteamOS ซึ่งได้ทำให้มันไม่เป็นจริงต่อไปอีกแล้ว

steamos_slashgear
ในฐานะวิทยากรของ Linux Foundation’s 2013 North American Linuxcon Newell ได้อธิบายถึงการถือครองสิทธิ์แบบเดิมๆ ในระยะยาวมันไม่ทำประโยชน์ให้บริษัทผลิตเกมส์ นั่นเพราะรูปแบบธุรกิจเกี่ยวกับเกมส์มันได้เปลี่ยนไปแล้ว? Newell กล่าวว่า “เกมส์ได้เป็นจุดเชื่อมโยงเศรษฐกิจ ในที่ที่มีสินค้าและบริการเกี่ยวกับดิจิตอล ที่เกิดจากผู้ใช้มากกว่าบริษัทผู้ผลิต”

ในความเป็นจริง Newell กล่าวถึง การสร้างผลงานของ Team Fortress Community ที่ผลิตผลงานเสร็จไปแล้วกว่า 10 ผลงาน โดยทีมพัฒนาของ Valve ซึ่ง Newell ไม่มีความกังวลในการเปรียบเทียบแบบ Head – to – Head ซึ่ง Valve เองก็สามารถนำเกมส์จากบริษัทอื่นมาได้เช่นกัน แต่นั่นไม่ใช่ตัวตัดสินผลแพ้ชนะของ Community และ บริษัท โดยผู้ตัดสินนั้นคือ นักเล่นเกมส์ ไม่ใช่นักพัฒนา

Newell ได้ย้ำเหมือนเมื่อปีที่แล้วว่า ” Windows 8 คือหายนะสำหรับทุกคนที่ใช้ PC ” เขายืนยันอย่างชัดเจนว่าเขาไม่เห็นด้วยกับทิศทางของ Platform ของ PC ในปัจจุบัน

ทำอย่างไรให้มันถูกต้อง…หลายครั้งพวกเราคิดถึงสิ่งที่ไม่ดี? Platform ที่มีการควบคุมมากขึ้น,ตลาดของนักพัฒนาถูกควบคุม,เนื้อหาถูกควบคุม และ [เพื่อให้] กำหนดราคา เขาเชื่อว่าไมโครซอฟท์และผู้ผลิตพีซีคิดว่านี่เป็นวิธีที่ถูกต้อง แต่พวกเขาคิดผิด” พวกเขาควรจะมีการยกระดับความแข็งแรงของระบบเปิดมากกว่าที่จะยึดถือเรื่องลิขสิทธิ์ของแพลตฟอร์ม”

เป็นผลให้ยอดการจำหน่าย PC ลดลง และ ทำให้ผู้แทนจำหน่ายอุปกรณ์ PC และ Software มีผลกระทบในวงกว้าง แต่ในขณะที่ยอดขาย PC ลดลงนั้น ยอดขายเกมส์กลับเติบโตขึ้น และ เติบโตต่อเนื่องถึง 76%

ในขณะเดียวกัน Linux แม้จะกินพื้นที่ตลาดเกมส์เล็กน้อยเท่านั้น แต่ถ้าตลาดเกมส์ยังเติบโตต่อเนื่องในขณะที่ยอดขายของ MAC และ Windows กำลังลดลง ทำไม Valve จำไม่ใช้ Linux ล่ะ?

Newell ชี้ให้เห็นว่า Valve ได้ใช้ Linux ตั้งแต่ปี 1999 “เราใช้เซิร์ฟเวอร์เกมหลายแสนเครื่องและใช้งานภายในสำหรับเซิร์ฟเวอร์เกม . ภายใน เรามีข้อมูลกว่า 20TB เรามีการ Reboot หลายครั้ง และรับส่งข้อมูลกว่า Exabyte บนอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน, ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 2-3 ของอินเทอร์เน็ตของโลก.” เขาเสริมต่อว่า “บริษัทเกมส์ทั้งหมด,คุณจะเชื่อมันและจะมีผู้คนใช้งาน Linux เพิ่มมากขึ้น”

“Linux เป็นอนาคตของนักเล่นเกมส์บน Client เพราะนอกจากนี้ Microsoft เองได้ย้ายตัวเองไป ล๊อคกับรูปแบบการใช้คอมพิวเตอร์อีกแบบนึง”
ระบบเปิดก้าวหน้าเร็วขึ้น,เกมส์คอนโซลเองก็ไม่มีการแข่งขันที่ดุเดือดเหมือนระบบลิขสิทธิ์ ตัวอย่างเช่น Newell กล่าวว่า “เราใช้เวลากว่า 6 เดือนในการปรับปรุง 1 ครั้ง Apple Store,ระบบปิดจะทำให้การพัฒนาเกมส์ล้าหลัง”

ดังนั้น Valve จึงนำ Game ไปอยู่บน Linux ซึ่งขณะนี้มีเกมส์บน Linux กว่า 198 เกมส์ ประเด็นเกี่ยวกับเกมส์บน Linux จึงได้รับการแก้ไข

มีไม่มากนักที่จะนำเกมส์มาเล่นบน Linux แต่การพัฒนา Hardware เกมส์โดยใช้ Linux จะถูกออกแบบให้ย้ายจาก Desktop ไปยังทีวีในห้องนั่งเล่น

ในอนาคตผู้เล่นจะเล่นเกมส์ของเขาบน Linux โดยที่เขาไม่รู้ว่าเล่นบน Linux เหมือนกับ 9 ใน 10 ของผู้ใช้ Android ที่ไม่รู้ว่าเขาใช้ Linux แต่ Linux ทำงานอยู่ข้างใต้นั่น อุปกรณ์ไม่ว่า PC,Tablet,Moblie Phone หรือ แม้กระทั่งเกมส์คอนโซลล้วนแล้วแต่ทำงานบน Linux

ที่มา : http://www.zdnet.com/valve-ceo-why-linux-is-the-future-of-gaming-7000020735/

Posted in บทความพิเศษ | Leave a comment

วิธีติดตั้ง Canon Pixma MP287 All-In-One บน Debian กัน

Canon_Pixma_MP287_Printer
วันนี้ผมกำลังติดตั้ง Printer Canon MP287 All-In-One ได้ Driver มาแล้วคือ cnijfilter-mp280series-3.40-1-deb.tar???ลงมาเก็บไว้ใน Folder Download และเข้า Terminal เพื่อทำการติดตั้งโดยใช้คำสั่งดังนี่

debian@Debian:~$ su root
Password:
root@Debian:/home/debian# cd Downloads/
root@Debian:/home/debian/Downloads# tar -xvf cnijfilter-mp280series-3.40-1-deb.tar
root@Debian:/home/debian/Downloads# cd cnijfilter-mp280series-3.40-1-deb
root@Debian:/home/debian/Downloads/cnijfilter-mp280series-3.40-1-deb# ./install.sh

กด Enter ผ่านตลอดจนติดตั้งเสร็จ หลังจากนั้นก็หาอะไรมา Print ดูครับขอให้สนุกกับการใช้งาน Debian นะครับ

ปล.Download จากเว็บ http://www.driverlook.com/canon-pixma-mp287-printer-driver-linux-mac-osx/

Posted in การติดตั้ง | Tagged , , | Leave a comment