ปรับแต่ง Grub ให้ Default เป็น Windows 7 หรือ อื่นๆ

กรณีที่เราติดตั้ง Debian ร่วมกับ Windows 7 หรือ รุ่นอื่นๆ Grub จะเป็น Menu สำหรับให้คุณเลือก OS ว่าคุณจะเข้า OS อะไร
ซึ่งมักจะถูก Set Default เป็น Debian แต่งานส่วนใหญ่เราดันต้องใช้ Windows เวลาเปิดเครื่องก็ขี้เกียจจะมารอกดเลือกที่ Menu
ทีนี้เราจะทำไงดีเนี่ย
Admin มีข้อมูลที่จะมาช่วยแก้ไขปัญหานี้

Debian-7-GRUB
ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

$ su root
Password:

$ pico -w /boot/grub/grub.cfg

แล้วใส่ Code ต่อไปนี้ลงไป

GRUB_DEFAULT="Windows 7 (loader) (on /dev/sda1)"

*หมายเหตุ แนะนำให้ไป copy ตรง menuentry มาวาง เพราะ Admin ให้การพิมพ์แล้วไม่ได้ผล

เสร็จแล้วก็ Ctrl+O และ Ctrl+x

$ update-grub

และก็ Reboot เครื่องครับ เป็นอันจบพิธี

ขอให้สนุกกับการใช้ Debian นะครับ

Posted in การติดตั้ง | Tagged , , | Leave a comment

มารู้จักกับ Linux Desktop Environment เช่น Gnome,Unity,KDE, Xfce และ LXDE

จากที่เคยแปลบทความ รีวิว และการติดตั้ง Xubuntu 13.10 อาจทำให้ใครงงเกี่ยวกับ Desktop Environment ว่าอะไรคือ จริงๆแล้ว Desktop Environment ก็คือส่วน Graphic User Interface ที่ผู้ใช้สามารถใช้งาน OS ผ่าน Graphic Mode เช่นเดียวกับ Windows หรือ Mac

สำหรับ Linux แล้วมี Desktop Environment ให้คุณเลือกใช้มากมาย และที่เป็นที่นิยมนั้น มี 4 แบบด้วยกัน คือ GNOME,KDE,Xfce และ LXDE โดยทั้ง 4 อย่างนี้ใช้งานโดยการที่คุณลากเมาส์ไปในตำแหน่งที่ต้องการแล้ว Click เท่านั้นครับ

เมื่อเราสอบถามคนที่เคยใช้ Desktop Environment ทั้ง 4 แบบ ทุกคนก็ให้ความเห็นไปต่างๆนาๆว่าชอบ Xfce,KDE,GNOME หรือ LXDE อย่างไร
เช่นคนที่ใช้ Computer รุ่นเก่าก็มักจะชอบ Xfce หรือ LXDE คนใช้ Computer รุ่นใหม่ๆก็จะชอบ GNOME หรือ KDE ซึ่งเราจะสรุปรายละเอียดเกี่ยวกับ Desktop Environment แต่ละแบบให้คุณดังนี้

GNOME?- รุ่นปัจจุบัน, GNOME (GNU?Network Object Model Environment) ซึ่งขณะนี้ได้พัฒนาจาก Version 2.x มาเป็น Version 3 แล้ว โดยคุณมักจะพบ GNOME ติดตั้งบน Linux ตระกูลใหญ่ๆ เช่น Debian,Ubuntu, Fedora และ CentOS

GNOME 2.x
gnome2x
GNOME 2.x มี Taskbar อยู่ 2 แถบ คือบนและล่าง ซึ่งส่วนบนเป็นส่วนของ Menu bar ส่วนแถบบาร์ด้านล้างเป็น แถบเสริม
ในการทำงาน GNOME 2.x ใช้ RAM น้อยกว่า GNOME 3 แต่ใช้ CPU สูงกว่า GNOME 3 แต่อย่างไรก็ตามก็ยังใช้ RAM และ CPU น้อยกว่า Unity และ KDE

ความต้องการของระบบสำหรับ GNOME 2.x:
RAM : 384 MB
CPU : 800 MHz

GNOME 3
gnome3
GNOME 3 คือ ตัวล่าสุดซึ่งพัฒนาต่อมาจาก GNOME 2.x

ความต้องการของระบบสำหรับ GNOME 3:
RAM : 768 MB
CPU : 400 MHz

Unity
DE-unity
Unity ได้รับการออกแบบโดย ?Canonical ใช้สำหรับ Netbook และปัจจุบันเป็น Desktop Environment เริ่มต้นของ Ubuntu 11.04 แต่จะมี Option พิเศษให้เลือกใช้แบบ Classic ซึ่งจะเป็น GNOME 2.x

ความต้องการของระบบสำหรับ Unity:
RAM : 1 GB
CPU : 1 GHz

KDE
DE-KDE

KDE (K Desktop Environment) เป็น Desktop Environment ที่มีหน้าตาเหมือน Microsoft Windows เป็นอย่างมาก ซึ่งเหมาะกับผู้ที่เคยใช้ Windows เป็นอย่างดี โดยมี Start Menu อยู่ทางล่างซ้ายของหน้าจอ

KDE เป็น Default Desktop Environment ของ Linux ตระกูล OpenSUSE, PCLinuxOS และMandriva

ความต้องการของระบบสำหรับ KDE:
RAM : 615 MB
CPU : 1 GHz

Xfce
DE-Xfce
Xfce เป็น Desktop Environment ที่ใช้ Resource น้อยกว่า GNOME หรือ KDE ซึ่ง Xfce เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดที่จะเลือกใช้สำหรับ Computer รุ่นเก่า
Xfc เป็น Default Desktop Environment ของ Xubuntu และ PCLinuxOS

ความต้องการของระบบสำหรับ Xfc:
RAM : 192 MB
CPU : 300 MHz

LXDE
DE-LXDE
LXDE (Lightweight X11 Desktop Environment) เป็น Desktop Environment อีกตัวหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะกิน Resource น้อยมาก
เป็นทางเลือกที่ดีเยี่ยมสำหรับ Computer รุ่นเก่า
LXDE หน้าตาคล้ายกับ Windows รุ่นเก่า (เช่น Windows 98 or 2000) ซึ่งเป็น Default Desktop Environment ของ Lubuntu

ความต้องการของระบบสำหรับ LXDE:
RAM : 128 MB
CPU : 266 MHz

ก็เลือกใช้ Linux Desktop Environment ให้เหมาะสมกับงานของคุณว่าจะเป็นไปทางด้านไหน ซึ่ง Linux Desktop Environment มีให้คุณเลือกมากมาย มีข้อดีข้อด้อยที่แตกต่างกัน สำหรับ Linux Desktop Environment ตัวอื่นๆคุณสามารถหาข้อมูลได้ที่ http://pclosmag.com/html/Issues/201109/page08.html

ขอให้สนุกกับการใช้ Linux นะครับ

ที่มา : http://pclosmag.com/html/Issues/201109/page08.html

Posted in บทความพิเศษ | 1 Comment

วิธีการติดตั้ง LibreOffice 4.0.3 บน Debian 7

LibreOffice

LibreOffice


LibreOffice คือ Office บน Linux ที่นิยมใช้กันแพร่หลาย ซึ่งใช้แทน Microsoft Office ที่สำหรับ LibreOffice เป็น Open Source สามารถ Download ได้ Free ไม่ต้องเสียเงิน สามารถใช้งานร่วมกับ MS Word,Excel,PowerPoint และสามารถบันทึกเป็นนามสกุลของ MS Word,Excel,PowerPoint ได้อีกด้วย มีเหตุผลดีๆอย่างนี้มาเริ่มติดตั้ง

เริ่มติดตั้ง
# pico /etc/apt/sources.list

ใส่ข้อความต่อไปนี้เข้าไป


deb http://ftp.debian.org/debian/ wheezy-backports main contrib non-free
deb-src http://ftp.debian.org/debian/ wheezy-backports main contrib non-free

กด Ctrl+x

แล้วก็ update source list ดังนี้
# apt-get update

รอซักครู่จน update เสร็จ
# apt-get -t wheezy-backports install libreoffice

ทีนี้คุณก็มี Office ใช้ไม่ต้องง้อ Microsoft แล้วครับ และให้ไปอ่าน เพื่อใช้ font ร่วมกับ MS Office ได้ไม่เพี้ยน

ขอให้สนุกกับการใช้งาน Debian นะครับ

Posted in การติดตั้ง | Tagged , , , | Leave a comment

วิธีทำ Personal/Private Cloud ด้วย ?OwnCloud? บน Linux

Cloud คือ ระบบที่ใช้จัดเก็บข้อมูลในระบบ Network โดยอาศัยการทำงานร่วมกันแบบ Third Party ของ Host หลายๆตัวในวง Network โดย Cloud เป็นบริการพื้นฐานบน Network ที่ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้ว่าอยู่ใน Server ตัวใดแต่อยู่ในที่ใดที่หนึ่งบนระบบ Cloud
เพื่อให้เข้าใจชัดเจนขึ้น ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบ Cloud หมายถึง การใช้ข้อมูลร่วมกันผ่านเครือข่ายโดยไม่อาศัย Server ภายใน หรืออุปกรณ์ภายใน/ส่วนตัวของผู้ใช้เลย
Cloud คือ ระบบจัดเก็บข้อมูลที่คุณสามารถเข้าถึงโดย Smart Phone,คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล,Notebook,Server ฯลฯ
ตัวอย่าง ระบบ Cloud ที่เห็นได้ชัดและพวกเราใช้กันอยู่ได้แก่ Dropbox ซึ่งขณะนี้มี Application อยู่ใน Smart Phone ของใครหลายๆคน หรือแม้แต่ Google Drive ก็คือระบบ Cloud ซึ่งคุณสามารถเข้าถึงข้อมูลของคุณได้ทุกที่ทุกเวลา
ในบทความนี้จะบอกวิธีที่คุณจะสร้างระบบ Cloud ใช้ส่วนตัวหรือภายในองค์กรของคุณโดยใช้ ownCloud อ้าวไหนบอกว่าต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของ?Host หลายๆตัวใน Network มันก็จริงที่ระบบ Third Party ของ Host ทำให้คุณสามารถกำหนดค่าตัวแปร และ จัดเก็บข้อมูลได้จำกัด ด้วยการแบ่งการจัดเก็บตามรายชื่อของ ไฟล์รูปภาพ,ไฟล์วิดีโอ,mp3 ไม่เพียงพอ ยิ่งไปกว่านั้น Cloud ยังเป็น Concept ใหม่และมีไม่มากนักที่ Host เป็น Third Party ซึ่งราคาค่อนข้างสูง

?OwnCloud? คืออะไร?
OwnCloud คือ โปรแกรม Free /Open Source และเป็น Web application มีประสิทธิภาพสูงซิงค์ข้อมูล,share ไฟล์,remote ไฟล์
OwnCloud ถูกพัฒนาด้วย PHP/JavaScript และใช้ฐานข้อมูล MySQL, MariaDB, SQLite, Oracle Database, and PostgreSQL ทำให้สามารถติดตั้งได้บน Linux, Macintosh, Windows และ Android

ติดตั้ง OwnCloud บน Linux

ติดตั้ง OwnCloud บน Linux

Features ใน OwnCloud

  • ที่เก็บข้อมูล files, folders,รายการติดต่อ,อัลบัมรูปภาพ, ปฏิทิน, ฯลฯ บน Server โดยคุณสามารถเข้าได้จาก SmartPhone, คอมพิวเตอร์ ด้วย Web Browser.
  • หากคุณมี Tablet, Smart Phone, Laptop, ฯลฯ. Own cloud ช่วย sync files, รายการติดต่อ (Contacts), อัลบัมรูปภาพ, ปฏิทิน , ฯลฯ เข้าสู่อุปกรณ์ของคุณ.
  • OwnCloud ช่วยคุณ share ข้อมูลของคุณ ไปสู่บุคคลอื่น ทั้งแบบ สาธารณะ หรือ ส่วนตัว ขึ้นกับความต้องการของคุณ
  • ง่ายต่อการใช้งาน เช่น upload, สร้าง user ฯลฯ.
  • มี feature ในการ Restore ข้อมูลที่ลบไปจาก Trash (ถังขยะ)
  • มี feature การค้นหาข้อมูลใน OwnCloud
  • รายการติดต่อ (Contacts) สามารถจักกลุ่มเพื่อสะดวกในการค้นหาได้ เช่น friends, co-worker, Family, etc.
  • คุณสามารถเข้าถึง Cloud ภายนอกเช่น Dropbox หรือ FTP ได้.
  • ง่ายต่อการโอนข้อมูลไปกลับกับ ระหว่าง owncloud server อื่นๆได้

ขั้นตอนการติดตั้ง OwnCloud
ขั้นตอนที่ 1 ติดตั้ง Web Server (LAMP : Linux, Apache, MySQL, PHP)
บน Debian/Ubuntu/Linux Mint
# apt-get install apache2 apache2-doc apache2-utils mysql-server mysql-client php5 php5-mysql
บน RedHat/CentOS/Fedora
# yum install httpd mysql-server mysql-client php php-mysql

ขั้นตอนที่ 2 สร้าง Cloud Database
# mysql -u root -p
ใส่รหัสผ่าน root ของ MySql เข้าไป
mysql> create database cloud ;

Grand สิทธิ์การเข้าถึง database cloud
mysql> grant all on cloud.* to tecmint@localhost identified by 'my_password';

ขั้นตอนที่ 3: Download และ ติดตั้ง ownCloud
คุณสามารถใช้ได้ทั้ง APT หรือ Yum ก็ได้ ทำได้เหมือน แต่ในทีนี้จะใช้ Source ในการติดตั้ง

Download Source
# wget http://download.owncloud.org/community/owncloud-5.0.12.tar.bz2

Copy ไปวางใน Apache
[สำหรับ Debian/Ubuntu/Linux Mint]
# cp owncloud-5.0.12.tar.bz2 /var/www/
[สำหรับ RedHat/CentOS/Fedora]
# cp owncloud-5.0.12.tar.bz2 /var/www/html/

แตกไฟล์
# tar -jxvf owncloud-5.0.12.tar.bz2

ลบตัวที่ Download มา
# rm -rf owncloud-5.0.12.tar.bz2

ให้สิทธิ์ เขียน/ลบ
# chmod -R 777 owncloud/

ขั้นตอน 4: Configuring Apache สำหรับ ownCloud
เปิด mod_rewrite และ mod_headers สำหรับ ownCloud
# a2enmod rewrite
# a2enmod headers

แก้ไข Config Apache

[สำหรับ Debian/Ubuntu/Linux Mint]
# pico /etc/apache2/sites-available/default

[สำหรับ RedHat/CentOS/Fedora]
# vi /etc/httpd/conf/httpd.conf

หา ?AllowOverride None? และเปลี่ยนเป็น ?AllowOverride All?

Restart Web Server

[สำหรับ Debian/Ubuntu/Linux Mint]
# service apache2 restart

[สำหรับ RedHat/CentOS/Fedora]
# service httpd restart

ขั้นตอนที่ 5: ทดลองเข้า ownCloud
โดยเข้าจาก Web Browser โดยผ่าน URL
ถ้าเข้าผ่าน เครื่องมันเองใช้
http://localhost/owncloud

จากเครื่อง Remote
http://<< ip-ที่ติดตั้งcloud >>/owncloud

ใส่ username, password และ mysql database username, password และ ชื่อ database

ownCloud Configuration

ownCloud Configuration

ทำไปจนกระทั้งเสร็จ และกด Finish และ Cloud ส่วนตัวของคุณพร้อม
ทดลอง Login ดู

OwnCloud Login

OwnCloud Login

ถ้าผ่านจะเข้ามาสู่หน้า Admin Panal

OwnCloud Admin Panel

OwnCloud Admin Panel

ต่อมาลอง Upload ไฟล์ต่างๆดูครับ

OwnCloud Upload

OwnCloud Upload

upload ไฟล์ Video หรือ mp3 ดูครับ และลองเล่นไฟล์ Video หรือ MP3 ได้เลยโดยไม่ต้อง Download

Owncloud Streaming

Owncloud Streaming

Note :

คุณสามารถImport User,เปลี่ยนรหัสผ่าน,จัดการสิทธิ์ของ User โดยผ่านปุ่มรูปเกียร์ ที่ล่างซ้ายของหน้า Page ได้ครับ
คุณสามารถสร้าง folder, sync media files , รูปภาพ และ video จาก Application บนมือถือ.
Owncloud ช่วยคุณ สร้าง User ใหม่, และ sync calendar, contacts, Media files, ฯลฯ
คุณสามารถติดตั้ง MP3 Player, PDF Viewer, Document Viewer ฯลฯ ได้

ขอให้สนุกกับการใช้ Linux ครับ

ที่มา : http://www.tecmint.com/install-owncloud-to-create-personal-storage-in-linux/

Posted in การติดตั้ง, การใช้งานโปรแกรม | Tagged , , , | Leave a comment

รีวิว และการติดตั้ง Xubuntu 13.10

Xubuntu 13.10 ใช้ User interface ของ Xfce โดยจะให้รายละเอียดคร่าวๆดังนี้

Xfce เป็น Graphic user interface ที่ใช้บนระบบปฏิบัติการ UNIX ซึ่งจะเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับ Resource ของระบบ โดยมีการใช้งานที่ง่าย
Xfce สามารถติดตั้งบน UNIX หรือนำไป Compile บน Linux,NetBSD,FreeBSD,OpenBSD,Solaris,Cgywin และ MacOS X บน x86,PPC,Sparc,Alpha …
*หมายเหตุ ในโอกาสต่อๆผมจะนำเสนอ GUI ที่ใช้บน Linux เพื่อให้ผู้สนใจมีความเข้าใจที่มากขึ้น

มีอะไรใหม่ใน Xubutu 13.10

นี่คือ Feature ใหม่สำหรับ Version นี้ :

Version ล่าสุดของ xfce4-settings
ตัวปรับสี Theme color
Wallpaper
Gtk themes
LightDM
Document

Xubuntu-13.10-Settings

Xubuntu-13.10-Theme-Color-Change-Menu

Xubuntu-13.10-Display-Settings-Menu

Xubuntu-13.10-Login-Menu

Xubuntu-13.10-Folder-Icons

ความต้องการของระบบ

Ram ขั้นต่ำขนาด 256 MB ที่แนะนำคือ 512 MB (สำหรับ Version 12.04 เท่านั้น ต้องการ 64MB ขั้นไป)
Harddisk พื้นที่ว่างมากกว่า 4.4 GB (สำหรับ Version 12.04 เท่านั้น ต้องการ 2GB ขั้นไป)

Download ที่ไหน?
เข้าไป Download ได้ที่ http://xubuntu.org/getxubuntu/
โดยไฟล์ที่ได้มีขนาด 882.9 MB โดยเลือก Xubuntu 13.10 32-bit หรือ 64-bit ขึ้นอยู่ความต้องการของระบบของคุณ

ขั้นตอนการติดตั้ง Xubuntu 13.10
Xubuntu 13.10 ใช้การติดตั้งแบบ Ubuntu ทำให้ง่ายต่อการติดตั้งมาก โดยไม่ต้องใช้ระบบจัดการ Partition แบบ Manual
โดยดำเนินตามขั้นตอนนี้เลยครับ
Xubuntu-13.10-Try-or-Install
เลือก Install Xubuntu

Xubuntu-13.10-Prepare-Install
กด Continue ไปครับ

Xubuntu-13.10-Insall-Type
ถ้าคิดว่า Partition OK ก็ Install Now ไปเลยและรอติดตั้งครับ

Xubuntu-13.10-Install-Slideshow

โฉมหน้าของ Xubuntu 13.10
Xubuntu-13.10-Desktop

เมนู

เมนู

ปุ่มบน Panel

ปุ่มบน Panel

Software บน Xubuntu 13.10

Games
Mines
Sudoku

Graphics
GIMP
gThumb
Ristretto Image Viewer
Simple Scan

Internet
Firefox
Pidgin IM
Thunderbird Mail
Transmission
XChat IRC

Multimedia
gmusicbrowser
Parole Media Player
PulseAudio Volume Control Center
Xfburn

Office
AbiWord
Dictionary
Document Viewer
Gnumeric
Orage Calendar
Orage Globaltime

เครื่องมือจัดการ Software บน Xubuntu 13.10
Xubuntu 13.10 มีระบบจัดการ ติดตั้ง/ถอนการติดตั้ง ซื่งใช้ระบบเดียวกับ Ubuntu คือ Ubuntu Software Center
(เหมือน Play Store หรือ App Store นั่นเอง) ซึ่งคุณสามารถเข้าไป ค้นหา ,ให้ rate และติดตั้งโปรแกรมเหล่านั้นได้ง่ายๆ

Xubuntu Software Center

Xubuntu Software Center

Xubuntu-13.10-Top-Rated-Applications-in-Software-Center

อ่าน Review

อ่าน Review

สรุปข้อมูล

Product:? Xubuntu 13.10
Web Site: ?http://xubuntu.org/
Price:? ฟรี

ขอให้สนุกกับการใช้ Linux นะครับ

ที่มา : http://desktoplinuxreviews.com/xubuntu-reviews/xubuntu-13-10/

Posted in บทความพิเศษ | Tagged , , , , , | Leave a comment

การติดตั้ง build-essentials บน Debian 7

linux-370x264
build-essentials คือ โปรแกรมสำหรับ Compile Application ที่จะใช้บน Linux ซึ่งประกอบไปด้วย gcc, g++, cpp, dpkg-dev, make และอื่นๆ
วิธีการ
$ su root

$ pico /etc/apt/sources.list

ใส่ข้อความนี้เข้าไป

deb ftp://ftp.th.debian.org/debian/ stable main

กด Ctrl+O -> Ctrl+X

$ apt-get update
$ apt-get install build-essential

ขอให้สนุกกับการใช้งาน Debian ครับ

Posted in การใช้งานโปรแกรม | Leave a comment

ความจริงเกี่ยวกับรายได้ของนักพัฒนาโปรแกรมบน Android

นักพัฒนาโปรแกรมบน Android มีรายได้จากที่ไหน ? แล้วนักพัฒนาโปรแกรมบน Android จะมีรายได้เทียบกับนักพัฒนาโปรแกรมบน iOS ได้อย่างไร?
ในบทวิเคราะห์ทางการตลาดเกี่ยวกับ Mobile Application ได้มีประมาณการถึงช่องว่างของรายได้ของนักพัฒนา iOS กับ Android โดย มักสรุปตรงกันว่า Android มีรายได้น้อย
monetizationgap
แต่จากรายงานปัจจุบัน ( 22-10-2013 ) ของ BI Intelligence ได้อธิบายว่า Android ไม่ได้สร้างรายได้
ในความเป็นจริงแล้วถ้ามองในมุมกว้าง หากมีการนำรายได้จาก โฆษณา, Mobile Commerce และ ค่าธรรมเนียมอื่นๆแล้ว Android มีรายได้น้อยกว่า iOS แค่เพียงเล็กน้อย (แค่ปลายเส้นผมเท่านั้น) นอกจากนี้ รายงานนี้ยังอธิบายถึงวิธีการพัฒนา Android ให้สามารถสร้างรายได้ โดยยังให้ข้อมูลที่สมบูรณ์ในการขยายโอกาสในโลกของ Android

โอกาสทางการตลาดบน Android มีดังนี้
– เมื่อคิดถึง การค้าขายผ่าน App,โฆษณา,ค่าพัฒนาโปรแกรม และ ค่า App แล้ว Android มีรายได้ใกล้เคียงกัย iOS เช่น ถ้า iOS Developer มีรายได้ $1 Android Developer มีรายได้ $0.90 (จากข้อมูลล่าสุด)
– ในปีที่ผ่านมา (ปี 2012) มีผู้ใช้อุปกรณ์ที่ใช้ Android ในปริมาณที่มาก โดย 45% เป็น Jelly Bean และ Android รุ่นที่ต่ำกว่า ซึ่งได้รับการบริการอย่างดีโดย Google (แล้วจะไปทำรายได้จาก Apple ทำไม?)
– กลยุทธในการที่ให้ ผู้ผลิต และผู้ให้บริการ สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้มีหน้าตามเป็นเอกลักษณ์ของตนเองทำให้มีการพัฒนา Version ต่างๆได้ช้า (อันนี้น่าจะหมายถึง Developer Android ไม่ต้องปรับปรุงฟังก์ชั่นหรือแก้ไข Software ตนเองบ่อยๆ ซึ่งเป็นผลดีต่อ Developer)
– การโฆษณาได้กลายเป็นแหล่งที่มาของรายได้ที่โดดเด่นสำหรับนักพัฒนา Android และเป็นโอกาสที่แท้จริง เพราะอัตราค่าโฆษณาต่ำกว่าบน iOS
– Google ร่วมกับผู้ให้บริการ ช่วยคุณในการซื้อขาย App ได้โดยง่าย (ตอนนี้ประเทศไทยยังขาย App ผ่าน Play Store ยังไม่ได้นะครับ ซื้อได้อย่างเดียว)
– ธุรกิจใหม่ๆจะเติบโตขึ้น ซึ่งทำให้อัตราของรายได้จาก Android Developer เพิ่มสูงขึ้น
– ส่วนแบ่งทางการตลาดในอุปกรณ์มือถือ Android มี 76% และตลาด Smart Phone 80% ดังนั้น Android จึงมีความสามารถในการกำหนดตลาด Smart Phone เฉกเช่นที่ Windows กำหนดตลาด PC นั่นแปลว่ารายได้จะมากยิ่งขึ้น
– มีการเติบโตในตลาดต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : http://www.businessinsider.com/android-has-solved-its-revenue-problem-2013-10

Posted in บทความพิเศษ | Tagged , , | Leave a comment

ติดตั้งโปรแกรม Real Player ไว้ดูหนังฟัง-เพลงบน Debain

real-player
Real Player เป็น โปรแกรมสำหรับเล่นไฟล์มัลติมีเดีย ผลิตโดย RealNetwork เอาไว้เล่นไฟล์ MP3,MPEG-4
QuickTime,RMVB

เรามาเข้าสู่ขั้นตอนการติดตั้งกันครับ
ก่อนอื่นแก้ไขไฟลืนี้ก่อนครับ /etc/apt/sources.list
# su root
# pico /etc/apt/sources.list

ใส่ข้อความต่อไปนี้เข้าไป
deb http://www.debian-multimedia.org sarge main
หรือ
deb http://www.debian-multimedia.org stable main
หรือ
deb http://www.debian-multimedia.org sid main
หรือ
deb http://www.debian-multimedia.org testing main

Save (Ctrl + O ) และออกมา (Ctrl + x)

# apt-get update

รอจน Update เสร็จ

# apt-get install realplayer

แล้ว RealPlayer จะอยู่ใน Applications?>sound&video?>Realplayer

ขอให้สนุกกับการใช้ Debian ครับ

Posted in การติดตั้ง | Tagged , , , , | Leave a comment

วิธีการติดตั้ง Apache + MySQL5 + PHP5 บน Debian กัน

lamp-logos

หลายๆท่านต้องการทำ Web Hosting คุณภาพสูงในราคาที่ต่ำ มักจะใช้ Linux เป็นหลักเพราะใช้ทรัพยากรน้อย ซึ่งโปรแกรมที่ีมักนิยมใช้ในการทำ Web Server คือ Apache ,Database Server ใช้ MySQL และตัว Run Script ก็ใช้ PHP5
ตอนนี้ขอนำเสนอวิธีการติดตั้งแบบง่ายๆโดยใช้ apt-get ซึ่งมันง่ายมากที่จะติดตั้ง Library อื่นๆที่ต้องการใช้ในภายหลัง

ขั้นตอนการติดตั้ง MySql
# apt-get install mysql-server mysql-client

กำหนด user และ password สำหรับ MySQL
# /usr/bin/mysqladmin -u root password 'รหัสผ่านที่ต้องการกำหนด'

ขั้นตอนการติดตั้ง Apache
# apt-getinstall apache2

เปิดการใช้งาน Modules
# a2enmod userdir

Config ไฟล์ /etc/apache2/mods-enabled/userdir.conf เพื่อเปิดการใช้งาน Module สำหรับ Apache โดย Config ดังนี้
<IfModule mod_userdir.c>
UserDir public_html
UserDir disabled root

<Directory /home/*/public_html>
AllowOverride All
Options MultiViews Indexes SymLinksIfOwnerMatch
<Limit GET POST OPTIONS>
Order allow,deny
Allow from all
</Limit>
<LimitExcept GET POST OPTIONS>
Order deny,allow
Deny from all
</LimitExcept>
</Directory>
</IfModule>

สร้างโฟลเดอร์สำหรับเก็บ Script Web โดยใช้ User อื่นที่ไม่ใช่ Root ในที่นี้ Admin ใช้ www

$ mkdir /home/www/public_html

$ su root

# chgrp www-data /home/www/public_html
# service apache2 restart

# chmod 755 /home/www

ขั้นต่อไป Config Apache ให้สามารถ run script php ได้ ดังนี้
# pico -w /etc/apache2/mods-available/php5.conf

Config file ดังนี้
<IfModule mod_php5.c>
<FilesMatch "\.ph(p3?|tml)$">
SetHandler application/x-httpd-php
</FilesMatch>
<FilesMatch "\.phps$">
SetHandler application/x-httpd-php-source
</FilesMatch>
# To re-enable php in user directories comment the following lines
# (from <IfModule ...> to </IfModule>.) Do NOT set it to On as it
# prevents .htaccess files from disabling it.
#<IfModule mod_userdir.c>
# <Directory /home/*/public_html>
# php_admin_value engine Off
# </Directory>
#</IfModule>
</IfModule>

ขั้นตอนการติดตั้ง PHP,Perl และ Python
# apt-get install php5 php5-mysql libapache2-mod-php5
# apt-get install perl libapache2-mod-perl2
# apt-get install python libapache2-mod-python

Config PHP
# pico /etc/php5/apache2/php.ini
ไป ลบ Comment ออกในบรรทัด
extension=mysql.so

ทีนี้ restart service
# service apache2 restart

ทดสอบว่า php script สามารถทำงานได้หรือไม่ โดย
# pico -w /home/www/public_html/test.php
พิมพ์ข้อความนี้เข้าไป
<?php
phpinfo();
?>

แล้วเปิด Browser พิมพ์ http://<Server Name>/test.php

ดูผลลัพธ์ครับว่าใช้งานได้รึยัง

Posted in การติดตั้ง | Tagged , , , , | Leave a comment

วิธีการ Share ไฟล์ / โฟลเดอร์ ระหว่าง Window 7 กับ Debian ด้วย Samba

samba-windows
Samba คือ Feature ที่ใช้สื่อสารในการแบ่งปันข้อมูลบน Network ระหว่าง OS ต่างๆ เช่น Windows,Linux และ Unix

ใน Debian จะต้องติดตั้ง Package ในเครื่องดังนี้ คือ
samba
samba-common
smbclient
swat
samba-doc
smbfs
libpam-smbpass
libsmbclient
libsmbclient-dev
winbind
python2.3-samba

วิธีการติดตั้ง
#apt-get install samba samba-client

สร้าง Directory ที่ต้องการแชร์บน Network
#mkdir samba

สร้าง user ในการเข้าถึง Directory

#useradd winuser

#smbpasswd -a winuser

Config Samba ให้ Share ข้อมูล
#pico -w /etc/samba/smb.conf

แก้ไขดังนี้

[global]

workgroup = plapayoon
netbios name = debianserver
server string = %h server (Samba %v)
log file = /var/log/samba/log.%m
max log size = 1000
syslog = 0


ตัวอย่างการ Share ข้อมูล


[SAMBA]

path=/samba
browseable=yes
writeable=yes
valid users = winuser
admin users = debain

ตรวจสอบว่าคุณได้ Config ถูกต้องหรือไม่โดย key ดังนี้
#testparm

ถ้า OK แล้ว ก็ Restart Samba เลยครับ
#/etc/init.d/samba restart

Test ว่า Samba ทำงานแล้วหรือไม่โดยใช้คำสั่งดังนี้
#smbclient -L //debianserver -U winuser

Config เครื่อง PC ที่ใช้ Windows
Start -> Control Panel-> System -> Change Settings -> Change -> กรอกชื่อ Workgroup ลงใน Textbox ของ Workgroup และกด OK

ทีนี้คุณก็สามารถ Share ไฟล์ในโฟล์เดอร์ samba บน Debian ให้เพื่อนๆที่ใช้ Windows และ Linux ได้แล้วครับ

Posted in การติดตั้ง | Tagged , , | Leave a comment